วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

เล็บมือนาง


              เล็บมือนาง (อังกฤษ: Rangoon creeper) เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)

 เล็บมือนางในวรรณกรรม

เล็บมือนางกางกลีบกะทัดรัด
เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว
บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว
เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง
(ขุนช้างขุนแผน - สุนทรภู่)

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
               เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู

 การปลูกเลี้ยง
               เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น

อ้างอิง
ข้อมูล : ^ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549, QUISQUALIS INDICA Linn ,niyog-niyogan.doc ,Quisqualis indica (PIER species info)
รูปภาพ : www.thai-health.net

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น