วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2556

การเวก (พืช)

การเวก (พืช)
           การเวก (climbing ylang-ylang, climbing ilang-ilang, manorangini, hara-champa หรือ kantali champa) เป็นชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Artabotrys siamensis Miq. ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอมอ่อน กลีบดอกคล้ายกระดังงาจีน แต่ขนาดเล็กกว่า, กระดังงัว กระดังงาเถา

ลักษณะทั่วไป
  • ต้น การเวกเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็งที่มีขนาดใหญ่จะมีมือเกาะรูปตะขอยื่นออกมา จากเถาเถาบริเวณยอดอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อเถาแก่ก็จะเป็นสีน้ำตาล
  • ใบ การเวกจะมีพุ่มใบที่หนาแน่นมากเป็นไม้ใบเดี่ยวออกใบสลับกันตามข้อต้นใบเป็น รูปขอบขนานหรือมนรี ทั้งโคนใบและปลายใบจะแหลมมีก้านใบสัน พื้นใบสีเขียวเข้ม เป็นคลื่นเล็กน้อย ขอบใบเรียบไม่มีจัก
  • ดอก ดอกการเวกจะออกตรงโคนต้นใบ ลักษณะดอกจะเป็นดอกเดี่ยวตรงโคนก้านดอกจะมีมือเกาะดอกเมื่อแรกออกจะเป็นสี เขียว แล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง ในหนึ่งดอกจะมี กลีบ ซึ่งแบ่งเป็นชันชันละ 3 กลีบ และมีกลีบเลี้ยง 3 กลีบ ดอกมีขนาดเล็ก หนาและแข็ง กลีบดอกมีลักษ ณะเป็นรูปรี มีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเป็นจำนวนมาก ดอกจะมีกลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ
ฤดูกาลออกดอก
          การเวกจะออกดอกตลอดปี

การปลูก
          การเวกมีวิธีการปลูกโดยการนำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือกิ่งที่ได้จากการตอนมาปลูกลงดิน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะนิยมใช้กิ่งตอนมากกว่าการเพาะเมล็ด เพราะจะทำให้ไม่เสียเวลา การตอนกิ่งควรที่จะทำในช่วงฤดูฝน เมื่อกิ่งตอนงอกรากพอสมควร แล้วจึงตัดมาปลูก

การดูแลรักษา
  • แสง การเวกเป็นไม้กลางแจ้งมีความต้องการแสงมากพอสมควร เหมาะที่จะปลูกริมรั้วบ้าน สวนภายในบ้าน หรือสวนสาธาณะ เป็นต้น
  • น้ำ ควรให้น้ำปานกลาง หากเป็นในระยะแรกปลูกให้รดน้ำวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น แต่เมื่อต้นโตแล้ว ให้รดน้ำวันละ 1 ครั้ง ก็ได้โดยรดในช่วงเช้า และควรรดให้ดินชุ่ม
  • ดิน การเวกจะขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด แต่หากเป็นดินร่วนปนทราย ที่มีการระบายน้ำได้ดีก็จะเจริญงอกงามได้ดียิ่งขึ้น
  • ปุ๋ย การเวกเป็นพันธุ์ไม้ที่ไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก เพียงผสมปุ๋ยหมักกับดินปลูกก็เพียงพอแล้ว

การขยายพันธุ์
           ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เนื่องจากออกรากง่าย มีรากจำนวนมากและแข็งแรง เมื่อตัดนำไปปลูกชำแล้วไม่ค่อยเหี่ยวเฉาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ร่ม เงาได้ดี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

อ้างอิง
รูปภาพ : www.nonkhro.ac.th

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2556

เล็บมือนาง


              เล็บมือนาง (อังกฤษ: Rangoon creeper) เป็นไม้เลื้อยดอกหอมเป็นช่อ พบในแถบเอเชีย มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆคือ จะมั่ง (เหนือ) จ๊ามั่ง (เหนือ) ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) มะจีมั่ง (เหนือ) และ อะดอนิ่ง (มลายู ยะลา)

 เล็บมือนางในวรรณกรรม

เล็บมือนางกางกลีบกะทัดรัด
เหมือนมือเจ้าปรนนิบัติพัดวีผัว
บานเย็นบานสะพรั่งฝั่งสระบัว
เหมือนเย็นเช้าเย้ายั่วอยู่กับน้อง
(ขุนช้างขุนแผน - สุนทรภู่)

 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
               เล็บมือนางเป็นพืชไม้เลื้อย เถาแก่เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเดี่ยวรูปวีหรือรูปไข่ปลายแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกมีลักษณะเป็นหลอดยาวประมาณ 4 นิ้ว ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู มีกลิ่นหอม ผลสีน้ำตาลแดงเป็นมัน มี 5 พู

 การปลูกเลี้ยง
               เล็บมือนางเป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทรายและมีความอุดมสมบูรณ์พอควร แสงแดดปานกลาง น้ำปานกลาง ปลูกได้ทุกฤดูกาล การขยายพันธุ์โดยใช้รากหรือเหง้า ที่ต้นอ่อนเกิดขึ้น แยกเอามาชำในที่ชุ่มชื้น

อ้างอิง
ข้อมูล : ^ เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549, QUISQUALIS INDICA Linn ,niyog-niyogan.doc ,Quisqualis indica (PIER species info)
รูปภาพ : www.thai-health.net

 

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ชวนชม

           ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่ มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงน้ำยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้

             ชวนชมในวรรณคดี : ดอกชวนชมปรากฏในวรรณคดีอิเหนา ตอนนางจินตะหราพาอิเหนาไปชมสวน (พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2) โดยมีกล่าวไว้ว่า

พระโฉมยงทรงเก็บกุหลาบเทศ
  ประทานองค์อัคเรศจินตะหรา
ทำเทียมเลียมลอดสอดคว้า
  กัลยาปัดกรค้อนคม
พระทรงสอยสร้อยฟ้าสารภี
  ให้มาหยารัศมีแซมผม
เลือกเก็บดอกลำดวนชวนชม
  ใส่ผ้าห่มให้สก

             ประวัติของชวนชม : ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาว เยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร


             การปลูกเลี้ยง : ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง


การให้ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกละได้ โชว์โขดหรือหวัที่สวยงานของชวนชม

การขยายพันธ์ : ทำได้โดยการเพาะเมล็ดการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด

  • การเพาะเมล็ด ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ใน การงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1
  • การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้น ตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ
อ้างอิง
ข้อมูล : ชวนชม จากเว็บพรรณไม้.คอม
รูปภาพ : www.baanpud.net

สาละลังกา

สาละลังกา หรือ ลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดใหญ่

             ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : สาละลังกาเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ หนาทึบ เปลือกสีน้ำตาลแกมเทา แตกเป็นร่องและสะเก็ด ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง รูปขอบขนานถึงรูปใบหอกแกมรูปไข่ กว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว12-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบหรือมน ขอบใบจักตื้น ใบหนา ดอกสีชมพูอมเหลืองหรือแดง ด้านในสีม่วงอ่อนอมชมพู มีกลิ่นหอมมาก ออกดอกเป็นช่อแบบช่อกระจะขนาดใหญ่ตามลำต้น ช่อดอกยาว 30-150 เซนติเมตร ปลายช่อโน้มลง กลีบดอกหนา 4-6 กลีบ กลางดอกนูน สีขนสั้นสีเหลืองคล้ายแปรง เกสรเพศผู้เป็นเส้นยาวสีชมพูแกมเหลืองจำนวนมาก ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ นานเป็นเดือน ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-10 เซนติเมตร ผลแห้ง ทรงกลมใหญ่ ขนาด 10-20 เซนติเมตร เปลือกแข็ง สีน้ำตาลปนแดง ผลสุกมีกลิ่นเหม็นมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่

             ประวัติ :  ต้นสาละลังกา มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ในประเทศเปรู, โคลัมเบีย, บราซิล และประเทศใกล้เคียงในปี พ.ศ. 2424 สวนพฤกษศาสตร์ศรีลังกาได้นำเข้าต้นลูกปืนใหญ่จากตรินิแดดและโตเบโก ต่อมาได้ขยายพันธุ์ไปทั่วศรีลังกา แต่ชาวศรีลังกากลับเรียกต้นลูกปืนใหญ่นี้ว่า ซาล (Sal) โดยไม่ปรากฏเหตุผลและไม่ทราบความเป็นมาของต้นลูกปืนใหญ่ ส่วนมากอ้างว่านำมาจากอินเดีย และที่เรียกเพราะซาลเพราะเชื่อว่าก้านชูอับเรณูที่เชื่อมกันเป็นรูปผืนผ้า ตัวงอเป็นตัว U นอน ปุ่มตรงกลางเปรียบเสมือนพระแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน มีเกสรสีเหลืองรายล้อมเปรียบเสมือนพระสงฆ์สาวกห้อมล้อมอยู่ ส่วนด้านบนเป็นที่บังแดดและน้ำค้างประดับด้วยดอกไม้ เนื่องจากมีดอกตลอดปีประกอบกับกลิ่นหอมที่ทนนาน ชาวศรีลังกาจึงนิยมใช้บูชาพระเช่นดอกไม้อื่นๆ

              ต้นสาละลังกา หรือตันลูกปืนใหญ่มิใช่พืชพื้นเมืองของศรีลังกาและอินเดีย และต่างจากต้นสาละอย่างสิ้นเชิงทั้งถิ่นกำเนิดและพฤกษศาสตร์ จึงได้มีการจำแนกชื่อที่พ้องกันเพื่อเรียกให้ถูกต้องว่าต้นสาละ (Sal Tree) หรือสาละอินเดีย (Sal of India) และต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree) หรือสาละลังกา (เรียกเฉพาะในไทย) แต่ด้วยความไม่รู้ความเป็นมาและชื่อเดิม ชาวไทยจึงนิยมเรียกสาละอินเดียกับสาละลังกา

                 อนึ่ง ต้นสาละลังกาหรือต้นลูกปืนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติแต่อย่างใด เนื่องจากต้นลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของต้นสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อมๆซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพัก หรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้

เกี่ยวกับสาละลังกา

  • สาละลังกาเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยชินวัตรและในอดีตเคยเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นต้นราชพฤกษ์แล้ว)
  • สาละลังกาเป็นต้นไม้ประจำ โรงเรียนสารวิทยา
อ้างอิง
ข้อมูล :
1.      ^ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
2.      ^ สาละลังกา ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.      ^ บุญ รอด อินทวารี. ต้นสาละ:ไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 146
4.      ^ บุญ รอด อินทวารี. ต้นสาละ:ไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 148
5.      ^ 5.0 5.1 5.2 5.3 บุญรอด อินทวารี. ต้นสาละ:ไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา. ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 32 ฉบับที่ 7 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน, 2552. หน้า 149
รูปภาพ : www.oknation.net

 

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

บานเย็น

          บานเช้า หรือ บานเช้าสีขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Turnera subulata G.E.Sm.) เป็นไม้ดอกล้มลุกมีถิ่นกำเนิดจากทวีปอเมริกาเขต ร้อน ดอกจะบานตอนเช้าเมื่อมีแสงแดดแล้ว ตอนเย็นจะเหี่ยวหุบเป็นรูปหลอดตั้ง ลำต้นมีเนื้อไม้ กิ่งอ่อนมีขนสั้นอ่อนนุ่มสีขาวเกาะติดจำนวนมาก

ลักษณะ
  • ใบเดี่ยวทรงรีสีเขียว ปลายแหลม โคนเรียวแหลม ออกเป็นคู่ ๆ สลับกัน ใบมีสีเขียวเข้มและดก ขอบใบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย มีหูใบขนาดเล็กทรงสามเหลี่ยมสีเขียวปลายสีเหลือง ก้านใบสีเขียวอ่อนอมเหลือง
  • ดอกออกเดี่ยวที่ซอกใบบริเวณปลายกิ่ง กลีบดอกมี 5 กลีบ ดอกมีสีเหลืองนวล กลางดอกแต้มสีน้ำตาลแดงเข้ม
  • ผลทรงกลมปลายแหลม แห้งแล้วแตกเป็น 3 พู เมล็ดทรงกลมขนาดเล็กจำนวนมาก
  • ขยายพันธุ์โดยเพาะมล็ด และการปักชำกิ่ง

อ้างอิง
ข้อมูล : http://clgc.rdi.ku.ac.th/resource/ornament/turnera/turnera.html
รูปภาพ : www.bloggang.com

วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

ยี่โถ

            ยี่โถ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nerium oleander L.) มีถิ่นกำเนิดแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เช่น แถบโปรตุเกสไปจนถึง อินเดีย อิหร่าน โดยสันนิษฐานว่ามีการแพร่เข้ามาในไทยโดยชาวจีน ในปี พ.ศ. 2352-2364

ยี่โถในวรรณกรรม
  • ยี่โถปรากฏในวรรณกรรมเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2

" ลำดวนดอกดกเต็มต้น
รสสุคนธ์ปนมะลิผลิดอกโต
ยี่เข่งเข็มสารภี ยี่โถ
ดอกส้มโอกลิ่นกล้าน่าดม "

            ลักษณะเฉพาะ : ยี่โถ เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม

การปลูก : ยี่โถ สามารถปลูกได้ทุกที่เนื่องจากขึ้นได้ในสภาพดินทุกชนิดได้ดี โดยการเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง หรือการปักชำกิ่ง

ประโยชน์
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ผล ใบ
1.      ผล ขับปัสสาวะ
2.      ดอก แก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ
3.      ใบ ใช้เป็นยารักษาโรคหัวใจ (มีความเป็นพิษสูงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง)
4.      นอกจากนี้ยังใช้เป็นยาฆ่าแมลง และยาเบื่อหนูได้

อ้างอิง
รูปภาพ : www.biogang.net