วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลิ้นมังกร

          ลิ้นมังกร (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sansevieria spp.) เป็นพืชใบประดับ มีถิ่นกำเนิดในภูมิประเทศเขตร้อนแห้งแล้ง

            ลักษณะ : ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสัน จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

 
ความเชื่อ : คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล

 
            การปรับปรุงพันธุ์ : สายพันธุ์ชื่อ เฮอริเคน เป็นสายพันธ์ใหม่ที่ถูกนำเข้ามาจากต่างประเทศ และขยายพันธุ์ออกวางขายในประเทศไทยนานกว่า 3-4 ปีแล้ว ได้รับความนิยมปลูกเฉพาะกลุ่มผู้ชื่นชอบไม้ใบแปลกมีลักษณะพิเศษแตกต่างจากต้นลิ้นมังกรทั่วไปคือ ต้นตี้ย สูงเต็มที่ไม่เกิน 1 คืบมือผู้ใหญ่ เวลาแตกใบจากต้น ใบจะเรียงเบียดกันเป็นชั้นๆ หนาแน่น และ บิดเป็นเกลียวตามธรรมชาติทุกใบเฮอริเคน หรือลิ้นมังกรใบบิด เป็นไม้ในตระกูลลิ้นมังกรสายพันธุ์ หนึ่ง ซึ่งทั่วโลกมีไม่น้อยกว่า 50 ชนิดขึ้นไป มีลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ต้นสูงเต็มที่ไม่ถึงหนึ่งคืบมือผู้ใหญ่ มีไหลหรือเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่และหนาแน่นตลอดลำต้น ใบเป็นรูปรีกว้างปลายใบแหลม โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบกว้างประมาณ 2.5-3 นิ้วฟุต ยาวประมาณ 5-6 นิ้วฟุต

          เนื้อใบหนาและแข็ง ผิวใบและขอบใบเรียบเป็นมัน ขอบใบทั้งสองข้างมีขลิบสีเหลืองสดตลอดปลายใบจรดโคนใบ พื้นกลางใบเป็นสีเขียวเข้ม มีลายด่างสีนวลเป็นตอนขวางตลอดใบ ใบเมื่อเริ่มโตจะบิดเป็นเกลียวตามธรรมชาติทุกใบ ทำให้เวลามีใบดกและหนาแน่นดูคล้ายรูปพายุหมุน หรือลมหมุนสวยงามมาก ซึ่งลิ้นมังกร มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ตามที่กล่าวข้างต้น แต่ละชนิดจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป คนที่ชอบปลูกไม้ประดับประเภทใบแปลกกำลังนิยมมาก

อ้างอิง :
ข้อมูล : http://www.maipradabonline.com/maipradabin/linmungon.htm

รูปภาพ : topicstock.pantip.com





 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น