วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทานตะวัน


           ทานตะวัน เป็นพืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence) ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ"ทานตะวัน"ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน

             ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศเม็กซิโกตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล

          ตำนานดอกทานตะวัน ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้า กลายเป็นดอกทานตะวัน ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้

           การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย ดอกทานตะวันเข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก

          ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่าคนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง

           การใช้ประโยชน์ านตะวันเป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร

            ทานตะวันเป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg

อ้างอิง
ข้อมูล :
·       University of Cincinnati (2008, April 29). Ancient Sunflower Fuels Debate About Agriculture In The Americas. ScienceDaily. Retrieved April 29, 2008, from /releases/2008/04/080429075321.htm
      ·       สุพัตรา แก้วแสนสุข, นิตยาไชยเนตร, และ พอจิต นันทนาวัฒน์. (2551). ผลของตะกั่วไนเตรตต่อ อัตราการงอกและการเจริญเติบโตของพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 9, 14 – 15 มีนาคม 2551, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
      ·       Teerakun, M. (2004). Phytoremediation of Carbofuran Residue in Soil. Thesis, Khon Kaen University.
      ·       ดูเพิ่มเติมที่ รายชื่อพืชที่สะสมสารบางชนิดได้ดี
รูปภาพ : travel.sanook.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น